Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2558
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง การเลือกซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ชื่องานวิจัย (EN) : Development of an e-Learning Lesson for Mathayomsuksa4, Topic: Selection of Appropriate Software at Work
ผู้วิจัย : สุดารัตน์ สุขเจริญ, รศรงค์ พัฒนาอนุสรณ์ และ ลาวัณย์ ดุลยชาติ
บทคัดย่อ (TH) : 

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียน e-Learning 2) เพื่อหาคุณภาพบทเรียน e-Learning และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียน e-Learning เรื่อง การเลือกซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงานกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 30 คน โรงเรียนกุฉินารายณ์ ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายโดย วิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บทเรียน e-Learning เรื่อง การเลือกซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน แบบประเมินคุณภาพบทเรียน e-Learning และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่าได้ บทเรียน e-Learning เรื่อง การเลือกซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงานสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีคุณภาพตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.50, S.D. =0.07) 3) และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยบทเรียน e-Learning โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=4.39, S.D. = 0.14)

Abstract : 

The purpose of this research was to develop and determine the quality of an e-Learning lesson for Mathayomsuksa 4, topic: selection of the appropriate software at work, andto study the satisfaction of the learners towards using e-Learning lesson.The samples were 30 students Mathayomsuksa4/1, Kuchinarai Schoolgained from simple random sampling. Research instruments were the e-learning lesson for Mathayomsuksa 4,a quality evaluation form, and a questionnaire of students’ satisfaction. The statistics used in this study are mean and standard deviation. The findings were as follows: 1) the quality of the e- learning lesson determined by experts was at the highest level (X=4.50, S.D. =0.07), and 2) the students were satisfied with the teaching via e-Learning lessons at a high level (X=4.39, S.D. = 0.14).

Keywords : บทเรียน E-learning, ซอฟต์แวร์, ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |