Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2558
ชื่องานวิจัย (TH): การศึกษาผลสัมฤทธิ์สื่อมัลติมิเดียกลุ่มสาระคณิตศาสตร์เรื่องเรขาคณิตโดยการใช้เทคโนโลยี ความจริงเสริมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่องานวิจัย (EN) : Study of Learning Achievement of Augmented Reality Multimedia about Geometry Knowledge for Prathomsuksa 3 Students
ผู้วิจัย : เกศรินทร์ ศรีเงิน, อรญา เสียงเลิศ และ สุทธิกานต์ บ่อจักรพันธ์
บทคัดย่อ (TH) : 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาสื่อมัลติมิเดียกลุ่มสาระคณิตศาสตร์เรื่องเรขาคณิตโดยการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพ 70/70 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อ มัลติมิเดียกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่องเรขาคณิตโดยการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) หาค่าดัชนีประสิทธิผลในการเรียนของผู้เรียนที่มีต่อสื่อมัลติมิเดียกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่อง เรขาคณิตโดยการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อมัลติมีเดียกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์กลุ่มสาระคณิตศาสตร์เรื่องเรขาคณิตโดยการใช้เทคโนโลยีความจริงเสริมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 25 คน คัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง 10 คน สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test
ผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียเท่ากับ 76.00/91.00 ค่าเฉลี่ยหลังสอนสูงกว่าก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับร้อยละ 56.45

Abstract : 

This research had its aims 1) to develop augmented reality multimedia about Geometry knowledge for Prathomsuksa 3 students, 2) to study learning achievement of students taught by the multimedia, 3) to study an effectiveness index of the multimedia. The tools used in this research were 1) the augmented reality multimedia and 2) pretest and posttest on multimedia. The population was 25 of Prathomsuksa 3 students of Bannongleg School. 10 of them were selected as the sample. The statistics used in this study were mean, standard deviation and t-test. The results showed that the effectiveness index rate of multimedia was 76.00/91.00, the average score was higher than before teaching with statistical significance level at .05, and the index of effectiveness of student learning was 56.45 percent.

Keywords : สื่อมัลติมิเดีย, เรขาคณิต, ความจริงเสริม, ดัชนีประสิทธิผล
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |