Download

Filter_Search

วารสาร : ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2562
ชื่องานวิจัย (TH): การพัฒนาสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม โดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่องานวิจัย (EN) : The Development of Digital Media via Augmented Reality by Using Collaborative Learning STAD in Computer Courses. Grade 6 Students.
ผู้วิจัย : จรินทร อุ่มไกร, ไกยสิทธิ์ อภิระติง
บทคัดย่อ (TH) : 

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม โดยอาศัย
การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD 2) หาประสิทธิภาพของการพัฒนาสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนด้วยสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้สื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเม่งฮั้วกงฮัก โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม แบบทดสอบ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัย พบว่า 1) สื่อดิจิทัลที่สร้างขึ้นร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม มีองค์ประกอบด้านเนื้อหาและด้านเทคนิค คุณภาพบทเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 2) ประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม โดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD อยู่ตามเกณฑ์ที่กำหนด 92.70/87.48 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน มีคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 26.24 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริม โดยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79

Abstract : 

This research study has the following objectives : 1) to develop digital media via Augmented Reality by using collaborative learning STAD in computer courses. Grade 6 students.
2) to determine the effectiveness of the development of digital media via Augmented Reality efficiency of 80/80 in science subjects. For Grade 6. 3) to compare results before and after school of digital media via Augmented Reality and 4) to study the preference for the use of digital media via Augmented Reality. The samples used in this research is the grade 6 in Meng Heng Kong Huh School. The simple random sampling number of 37 persons the tools used in the research is composed of lessons using digital media via Augmented Reality. The test before and after school. The results showed that 1) the digital media via Augmented Reality are with highest level of quality, average value of 4.85 and consisting of contents both in terms of technique and knowledge. 2) The effective of develop digital media via Augmented Reality is equal to 92.70 / 87.48. 3) the achievement of students after school with digital media via Augmented Reality is higher than the first significant study of statistics .05 level. 4) The satisfaction of the students with digital media via Augmented Reality digital media via Augmented Reality overall at the highest level.

Keywords : Digital media, Augmented Reality, Collaborative Learning (STAD), Computer Courses
Full Paper : Download

<< ย้อนกลับ | |